วันพุธที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2554

วิธีดูเพศของนกกรงหัวจุก อย่างง่าย


-    ถ้าเราอยากรู้.. ว่านกที่เราเลี้ยงอยู่จะเป็นตัวผู้หรือตัวเมีย ลองใช้วิธีนี้ดู
-   การนำเข็มเย็บผ้ามาร้อยด้าย.. ให้ยาวประมาณ 1 คืบ ใช้มือจับที่ปลายเส้นด้ายให้เข็มห้อยลงมา จากนั้นให้นำนกตัวที่สงสัยจับหายท้องขึ้น.. และขยับให้ตูดนกอยู่ใกล้ปลายเข็มที่ห้อยลงมา และให้สังเกตุว่า ถ้าเข็มวิ่งวนเป็นวงกลมแสดงว่านกเป็นตัวเมีย ถ้าเข็มวิ่งแกว่งไปมาแสดงว่านกเป็นตัวผู้ ลองทำดูได้ผลแน่นอน
-    เซียนๆส่วนใหญ่รุ่นเก่าๆใช้วิธีนี้ตอนไปคัดนกจากกรงรวมได้ผลใช้ได้กับนกหลายชนิด..
-    คาดว่าตัวเมียจะมี อำนาจแม่เหล็กที่ตูดเป็น ขั้วใต้ ส่วนตัวผู้ จะมีอำนาจขั้วเหนือ
-    กรณีตัวเมียเป็นขั้วใต้ เมื่อเจอปลายเข็ม จึงเกิดแรงดูด S+N ทำให้หมุนเป็นวงกลม..
-    กรณีตัวผู้เป็นขั้วเหนือ เมื่อเจอปลายเข็ม จึงเกิดแรงดัน N+N ทำให้ผลักกันแกว่งไปมา..
-   หลักการเดียวกัน ใช้เข็มทิศก็ได้ นำนกกรงฯ เข้าไปจ่อใกล้ ทางทิศเหนือหันเข้า ก็ตัวเมีย ถ้าทิศใต้หันเข้าก็ตัวผู้

สูตร.... นกถ่ายขนไม่หยุดหย่อน



    ถ้ารู้ว่านกเริ่มที่ถ่ายขนในระยะแรกๆ ให้เลี้ยงแบบปกติก่อน ไปเรื่อยๆ.. ปล่อยให้นกถ่ายขนทิ้งก่อน ทั้งขนอ่อน ขนแก่ ขนหาง ขนปีก หรือขนอะไรก็แล้วแต่ (นกแต่ละตัวจะถ่ายขนส่วนไหนก่อน ไม่เหมือนกัน).. ช่วงนี้อย่าเพิ่งให้อาหารที่มีโปรตีน และไขมันสูง สิ่งเหล่านี้จะไปกระตุ้นให้นกสร้างสิ่งที่สึกหรอ ก็คือการบำรุงนกให้สมบูรณ์ นกก็จะสร้างขนก่อนที่นกจะทิ้งขนหมด เป็นสาเหตุที่นกทิ้งขนไม่หยุดหย่อน กินเวลานานแล้วนานอีกหลายเดือน โปรดสังเกตุดูว่าจริงมั้ย
   นกก็เลี้ยงหลายตัว แต่ดูแลนกที่ถ่ายขนไม่เหทือนกันทุกตัว แต่ส่วนใหญ่จะเป็นอย่างนี้ จึงลองผิดลองถูก จนได้ผลสรุปก็คือ .... จะเลี้ยงนกกรงฯที่ถ่ายขนอยู่แบบปกติทุกวัน ให้เหมือนธรรมชาติที่สุดเรียกว่าเลียนแบบธรรมชาติ ให้ผลไม้ อาหารเสริมสัปดาห์ละ 1 ครั้งตามที่ตามเลี้ยง ให้สังเกตุนกท่านว่าเริ่มมีขนใหม่งอกขึ้นมามั้ย ถ้าเริ่งมีขนใหม่ขึ้นซ่อนมา สีอ่อนๆนั้นคือขนใหม่ ขั้นตอนนี้อาจเป็นขั้นตอนสุดท้ายก็ได้ หลังจากทิ้งขนเก่าหมดแล้ว ก็เริ่มอัดอาหารที่มีโปรตีน และไขมันสูง เช่น หนอน ไข่มดแดง ตั๊กแตน อาหารเม็ดต่างๆ ฯลฯ มากๆ นกจะเริ่มมีขนใหม่ที่ขึ้นมาใหม่เรื่อยๆ อาจจะใช้เวลานานเช่นกัน แต่จะเป็นการทิ้งขนและเต็มไวกว่าที่ท่านทำมาแน่นอน
มาฟังกันเรื่องกราดแดดช่วงถ่ายขน เมื่อเริ่มรู้แล้วว่านกถ่ายขน ก็คือควรจัดแจง แยกนกให้ได้พักผ่อนเยอะๆ ไม่ควรนำนกไปลงแข่งเด็ดขาด(ส่วนน้อยมากๆที่แข่งติดรางวัลช่วงถ่ายขน) เลี้ยงดู เอาใจใส่ ปกติ ให้กราดแดดอ่อนๆ น้อยชั่วโมง วันหนึ่ง สักเช้า 1-2 ชั่วโมง เย็นสัก 1-2 ชั่วโมง เรียกกันว่าแสงแดดสีทองซึ่งไม่แรงไม่ร้อนมากนัก และมีประโยชน์แด่นกสูงสุด การอาบน้ำก็สักสัปดาห์ละครั้ง จากที่เคยอาบทุกวันแล้วแต่นก หลังจากใกล้เต็มแล้ว ก็นำนกเคาะสนิม รื้อฟื้นความหลังหน่อย เช่นพาเที่ยว พาซ้อม.. ตามสนามแข่ง ไล่แดด ไล่ขนต่อไป นกช่วงถ่ายขนก็จะมีสุขภาพร่างกาย และขนที่งอกออกมาใหม่ สมบูรณ์ แข็งแรง เป็นเงางาม

การแข่งขันนกกรงหัวจุก แบบสากล


        การแข่งขัน  แบบสากลส่วนใหญ่ จะเน้นที่ความงดงามสมส่วนหรือมีลีลาสง่างามหรือไม่ และสำนวนเพลงร้องของแต่ละตัวดีหรือไม่อีกทั้งการแข่งขันแต่ละครั้งจะไม่ จำกัดยกแต่จะใช้จำนวนนกที่เข้าร่วมเป็นเกณฑ์ การแข่งขันจะใช้กรรมการ 3 คนต่อชุด ทำหน้าที่คัดเลือกนกออกให้เหลือเท่าจำนวนรางวัลที่จัดเอาไว้ กรรมการทั้ง 3 คนจะยึดกฎกติกาอันเดียวกัน โดยจะเดินวนรอบๆ ราวแขวนนกระยะพอประมาณ กรรมการ 1 คนจะสังเกต 6-9 ตัว รอบแรกจะคัดเอานกตัวที่ไม่ร้องหรืออยู่นิ่งๆ.. ขนพองฟูออก เพราะแสดงว่าไม่มีใจสู้ ไม่มีปฏิกิริยาอะไรกับนกตัวที่อยู่รอบๆ ข้างเลย กรรมการก็จะจดหมายเลขนกตัวนั้นเอาไว้ ถ้านกตัวใดถูกกรรมการ 2-3 คนจดหมายเลยซ้ำกันถือว่าตกรอบ นกที่เหลือจะถูกยุบเข้าไปอยู่บนราวเดียวกัน เมื่อเหลือจำนวนน้อยลงไปเรื่อยๆ จะสังเกตว่ายกที่ 1-3 นั้นนกที่ตกรอบเป็นนกที่ไม่ร้องไม่โชว์ลีลาอะไร
        ยก 4 กรรมการจะเน้นไปที่เสียงร้องเป็นพิเศษ นกที่ผ่านยก 1-3 มาได้ แต่ถ้าไม่มีเสียงร้องในยกที่ 4 แม้จะมีลีลาดีเพียงใดก็ต้องตกรอบไปเพราะก่อนเข้ารอบรองชนะเลิศกรรมการจะ พิจารณาเสียงเป็นหลัก พอคัดเลือกนกเหลือเท่ารางวัลกรรมการจะหยุดพัก 5 นาที ให้เวลาเจ้าของนกหรือพี่เลี้ยงทำนกให้สดชื่นตื่นตัวและคึกคักพร้อมเข้าแข่ง รอบชิงชนะเลิศ ในช่วงเวลา 5 นาทีนี้.. สิ่งที่เจ้าของนกส่วนมากจะทำกันคือป้อนอาหารจำพวกเรียกพลังเช่นตักแตนหนอน ให้นกอิ่มมีพลังร้องอย่างเต็มที่ในยกต่อไป และนำอาหารนกที่เหลือในกรงออกเพื่อให้สนใจร้องอย่างเดียวไม่มัวกินอาหาร พร้อมทั้งเปลี่ยนน้ำให้นกใหม่เพราะน้ำใช้มาตั้งแต่เช้าสกปรกและร้อนเกินไป หรืออาจจะมีวิธีอื่นอีกก็แล้วแต่เจ้าของ
        รอบชิงชนะเลิศกรรม การแต่ละคนจะใช้วิธีเดินรอบสนามหรือราวนกเพื่อให้คะแนนหลายๆ รอบจนครบหมดทุกตัว ในการตัดสินรอบแรกจะดูนกที่ร้องก่อนตัวอื่นๆ โดยเดินวนตามหลังกันเว้นระยะห่างพอประมาณไปในทิศทางเดียวกัน ใช้ระยะเวลาในการเดินให้คะแนนคนละเท่าๆ กันคือ 1 นาทีต่อ 1 ล๊อก ดูนกประมาณ 3 ตัว เมื่อพบนกตัวใดร้องก็จะจัดการให้คะแนนตามแบบฟอร์มโดยจะดูลักษณะการ ร้อง(เสียงร้อง) และลีลาการ ร้องประกอบกัน ส่วนนกที่ไม่ร้องในการเดินรอบแรก กรรมการก็จะยังไม่ให้คะแนน แต่ในรอบที่ 2 กรรมการจะต้องให้คะแนนนกให้ครบทุกตัวแม้ว่าจะไม่ร้องก็ตาม เมื่อกรรมการแต่ละท่านตัดสินนกจนครบทุกตัวก็ถือว่าเป็นการสิ้นสุดการให้ คะแนน และสรุปผลการตัดสินต่อไป

ประโยชน์ในการเลี้ยง นกกรงหัวจุก


1. จะเป็นการให้พวกวัยรุ่นลดละเลิก.. ในเรื่องติดยาเสพติด เพราะจะมาสนใจเลี้ยงนกกรงหัวจุก
2. เป็นการพักผ่อน คลายเครียด เพลิดเพลินใจ เหมือนกับฟังเสียงร้องของนกเป็นเสียงดนตรีธรรมชาติ หรืออยู่ในธรรมชาติ
3. เป็นการสร้างความภูมิใจให้แก่ผู้เลี้ยงที่ได้รับรางวัล
4. เป็นการสร้างความสามัคคีในหมู่คณะที่ชอบเลี้ยงนกกรงหัวจุก มีการพบปะพูดคุย แลกเปลี่ยนคามคิดเห็นกัน
5. เป็นการสร้างรายได้ ..และการกระจายรายได้ไปให้แก่คนหลายอาชีพ
6. เป็นประเพณี.. และวัฒนธรรมที่ดีของท้องถิ่น
7. หากมีการเพาะพันธุ์จำหน่ายก็จะกลายเป็นสินค้า 1 ตำบล 1 ผลิตภัณฑ์ได้

มารยาทของผู้ส่งนกกรงหัวจุก เข้าแข่งขัน

1. ควรส่งนกกรงหัวจุกก่อนจะมีการแข่งขันอย่างน้อย..ครึ่งชั่วโมง
2. ควรอยู่นอกเขตเชือกกั้น ไม่ควรเข้าไปในเขตเชือกกั้น เพราะจะทำให้นกตื่นตกใจและไม่ร้อง
3. การเชียร์นกให้ร้อง อย่าใช้วัสดุ เช่น เสื้อ ผ้าคลุมกรงโบกสะบัด เพื่อเชียร์ให้นกร้อง.. เพราะนกตัวอื่นๆ อาจจะตกใจและไม่ร้อง รวมทั้งการส่งเสียงร้องเชียร์นกดังเกินไป นกอื่นอาจจะตกใจและไม่ร้องได้เช่นกัน สำหรับการประกวดแข่งขันประชันเสียงนกกรงหัวจุก จะเริ่มตั้งแต่เดือน กุมภาพันธ์-เดือนตุลาคมของทุกปี เพราะช่วงเดือน พ.ย.-ธ.ค.-ม.ค. ทางภาคใต้จะเป็นช่วงฝนตก นกกรงหัวจุกจะไม่ค่อยร้องแต่ถ้ามีแดดนกกรงหัวจุกจะร้องดี

การเตรียมนกกรงหัวจุก ก่อนแข่งขัน


1. การเตรียมอาหารและเตรียมน้ำให้มาก.. เพราะนกขาดน้ำ เสียงนกจะแหบ รวมทั้งเตรียมน้ำสำรองในเวลาพักนกด้วย
2. การเตรียมกรงที่จะใส่นกกรงหัวจุกเข้าประกวด โดยเปลี่ยนกรงก่อนสัก 3-4 วัน เพื่อให้นกเคยชินกับกรง
3. การฝึกสอนนกให้บ่อยมากยิ่งขึ้น
4. การบำรุงให้นกเสียงดี และร้องได้นาน

วิธีการฝึก นกกรงหัวจุกเพื่อเข้าแข่งขัน

        หลังจากที่เลี้ยงและฟูมฟัก  ..ดูแลรักษานกมาเป็นอย่างดีแล้วควรเริ่มซ้อม แต่ต้องค่อยเป็นค่อยไป ไม่ก้าวกระโดด เมื่อแขวนนกแล้วลองสังเกตว่านกเริ่มสู้แล้วหรือยัง.. ถ้ายังไม่สู้ให้ยกนกออกไปจากราวไปแขวนไว้ที่อื่นห่างออกไปแขวนไว้ที่อื่น ห่างออกไปก่อน เพราะหากยังแขวนไว้จะทำให้นกแพ้และไม่สู้นกตัวอื่นอีกเลย ต้องขยันหิ้วนกไปเที่ยวและต้องซ้อมบ่อยๆโดยซ้อมสัปดาห์ละ1-2 วัน ช่วงเวลาการซ้อมเพียงเล็กน้อย เพื่อให้เกิดความเคยชินกับสนามแล้วจึงแยกออกไปแขวนห่างๆ เพื่อให้นกเกิดความคึกคะนองก่อนจะนำนกไปเที่ยวหรือไปสนามซ้อม ต้องใช้ผ้าคลุมกรงนกทุกครั้ง เพื่อให้นกตื่นตกใจน้อยที่สุด
        ควรเปลี่ยน..  กรงนกบ่อยๆ เพื่อให้นกคุ้นเคยกับการเปลี่ยนที่อยู่ใหม่ ป้องกันการตื่นตกใจกลัวเนื่องจากความไม่ชินกับสภาพกรงที่ผิดแผกไปจากเดิม ทำให้นกมีความพร้อมอยู่ตลอดเวลาในวันปกติให้แขวนนกแต่ละตัวให้ห่างกัน เพื่อไม่ให้เห็นกัน ให้ได้ยินแค่เสียงร้องก็พอ เพื่อนกจะได้คึกคัก
        ให้นกอาบน้ำ ในเวลาบ่ายหรือยามเย็นประมาณ 15.00-17.00 น แต่งตัวและตากขนให้แห้งสนิทก่อนจะเก็บไว้ทุกวัน เพื่อเพิ่มความสวยงามและปลอดโปร่งสบายให้แก่นก เพราะนกกรงหัวจุกชอบความสะอาดดูแลความเรียบร้อยของตังเองอยู่เสมอต้อง เปลี่ยนน้ำกินและน้ำอาบทุกวัน ล้างถาดรองขี้นกทุกวัน กรงสะอาดจะทำให้นกสดชื่นคึกคัก ให้ลองสังเกตดูว่าหากนกไม่ได้อาบน้ำและไม่ล้างทำความสะอาดหลายๆวันนกจะสลัด.. ขนอ่อนบนลำตัวออกและมีอาการซึม
        ขณะที่แขวนนก  ตัวที่มีท่าทีว่าจะคึก ให้หมั่นเอานกล่อนกที่ไม่สู้ หรือไม่คึกไปเทียบบ่อยๆ ให้ห่างกันเล็กน้อย เพื่อให้นกมีอาการคึกคักพร้อมจะสู้และสร้างความมั่นใจว่าตังเองขู่ตัวอื่น ได้ นกจะมีความมั่นใจและเก่งมากขึ้น เมื่อนำไปแขวนที่ราวซ้อมนกจะพร้อมต่อสู้กับตัวอื่นตลอดเวลาโดยไม่กลัว เนื่องจากนกมีลักษณะนิสัยที่แตกต่างกันเพื่อเป็นการเรียนรู้นิสัยของนก เราจึงต้องสังเกตและเอาใจใส่เพื่อจะได้รู้จักนกของเราอย่างแท้จริง เช่น ชอบกระโดดเกาะหรือชอบวิ่งถ้วย ซึ่งจะมีผลอย่างมากเมื่อนำนกไปแข่ง นกจะพร้อมสู้ตลอดเวลาไม่เบื่อหน้ากันให้ใช้ผ้าคลุมกรงนกเพื่อให้นกพักผ่อน ได้เต็มที่
        ก่อนถึงวันแข่งขัน 1-2 วัน ให้เปลี่ยนกรงนกที่เป็นกรงแข่งมีลวดลายสวยงาม ซึ่งเตรียมไว้เฉพาะเพื่อความคุ้นเคย วิธีนี้เหมาะสำหรับผู้เริ่มเลี้ยง.. ซึ่งเตรียมไว้เฉพาะเพื่อความคุ้นเคย วิธีนี้เหมาะสำหรับผู้เริ่มเลี้ยง ซึ่งยังไม่มีนกที่ดีและเก่งพอที่จะเป็นนกครูฝึกได้

บ้างครั้งต้องนำ นกกรงหัวจุกไปตากแดด

         ใน ตอนเช้าผู้ที่เลี้ยงนกกรงหัวจุกจะต้องรู้วิธีการยกกรงนกไปแขวน โดยมีวิธีการยกคือ.. มือหนึ่งจะต้องหิ้วที่ตะขอกรงนก เมื่อไปถึงชายคาบ้าน หรือราวที่จะแขวนกรงนก หรือกิ่งไม้ หรือราวที่ฝึกซ้อม และราวที่จะแขวนนกประกวดแข่งขันแล้ว ก็ใช้มือข้างที่ถนัดจับที่มุมกรงมุมใดมุมหนึ่งที่เป็นเสากรง เพราะซี่ลูกกรงจะบอบบางไม่แข็งแรงและหัดได้.. จากนั้นก็ยกกรงนกขึ้นชู โดยดูที่ตะขอแขวนนกว่าตรงกับที่แขวนหรือราวแล้วหรือยัง ถ้าตรงกบที่แขวนและราวแล้ว ก็ให้ปล่อยมือลง
        ข้อควรระวัง.. อย่าแขวนนกที่มีอายุน้อยใกล้กับนกที่มีอายุมาก ซึ่งนกที่มีอายุมากจะข่มขู่นกที่มีอายุน้อยกว่า เพราะนกสามารถจะจำเสียงได้ และจะตื่นแล้วการที่จะนำนกไปแขวนไว้นี้.. เพื่อให้นกได้กระโดดไปมาออกกำลังกาย และเพื่อให้นกร้อง จนถึงตอนบ่าย จึงจะเก็บนกไว้ในที่ร่มต่อไป ถ้าเป็นลูกนกและนกหนุ่ม ค่อย ๆ เพิ่มเวลาแขวนตากแดดวันละ 1 ชั่วโมง เป็นวันละ 2 ชั่วโมง และตากแดดไว้นานขึ้นจนนกเคยชิน เพราะเวลานำนกกรงหัวจุกเข้าประกวดแข่งขันต้องใช้เวลา 5-6 ชั่วโมง.. กว่าจะประกวดเสร็จ เพราะนกต้องตากแดดตลอดเวลาการประกวด

มนต์เสน่ห์..ของการเลี้ยงนกหัวจุก


      เนื่องจากนกกรงหัวจุกเป็นนกขนาดเล็กที่คล่องแคล่ว ปราดเปรียว.. มีสีสันสวยงาม สำนวนเพลงร้อง ถ้าฟังกันให้ดี แต่ละเพลงที่นกร้องออกมา จะ ไม่ค่อยซ้ำกัน หมุนเวียนกันไป ทำให้ฟังไม่เบื่อ ยิ่งเมื่อนกอยู่ในกรงที่สวยงาม และกระโดดโลดเต้นไปตามลีลาอันเป็นธรรมชาติ ก็จะยิ่งน่าดู เป็น การสร้างความประทับใจและสบายใจให้กับเจ้าของอย่างมาก ได้พักผ่อน พบปะเพื่อนฝูงในวันหยุดสุดสัปดาห์ เป็นการผ่อนคลายความเครียดที่ดี อีกวิธีหนึ่ง ยิ่งถ้ามีการแข่งขัน และนกของเราได้รับรางวัลด้วย ก็จะนำมาซึ่งความภาคภูมิใจ ทั้งนี้ยังรวมถึงแม่บ้านและลูกๆ ด้วย เพราะปัจจุบันทางภาคใต้นิยมจัดรางวัลเป็นของใช้ เช่น ตู้เย็น โทรทัศน์สี หม้อหุงข้าวไฟฟ้า พัดลม รถจักรยาน และของใช้อื่นๆ อีกมากมาย ถ้า เจ้าของนกได้รางวัลเหล่านี้กลับบ้าน ก็จะเป็นการสร้างสายสัมพันธ์ที่ดีภายในครอบครัวอีกด้วย สร้างความภูมิใจ ในลักษณะที่เราสามารถเพาะพันธุ์ได้ เองภายในบริเวณบ้าน ข้อนี้สำคัญมาก เนื่องจากบัจจุบัน หลายๆ ท่านพยายามจะช่วยกันขยายพันธุ์นกให้มีจำนวนมากขึ้น ถ้าเราทำได้สำเร็จ ก็ จะได้ชื่อว่าเป็นผู้อนุรักษ์นกกรงหัวจุกได้สำเร็จอย่างแท้จริง ประกอบเป็นอาชีพ ท่านที่สนใจสามารถประกอบอาชีพที่เกี่ยวกับนกได้ไม่ยาก เช่น 
- เพาะพันธุ์ลูกนกขาย 
- ขายอุปกรณ์เลี้ยงนก เช่น อาหารนก ผ้าคลุมกรง ถ้วยน้ำ และอื่นๆ 
- ทำกรงนกขาย สำหรับท่านที่มีฝีมือ ก็สามารถทำกรงนกขายได้ ทำให้มีเงินเก็บเป็นกอบเป็นกำโดยไม่ยากเลย เพราะปัจจุบันสะดวกกว่าสมัยก่อนมาก เนื่องจากมีชิ้นส่วน ในการทำกรงขายทุกอย่าง เราสามารถนำมาประกอบเป็นกรงแข่งขันขายได้เลย ในลักษณะโชคลาภ มีผู้เลี้ยงนกกรงหัวจุกจำนวนไม่น้อยเลย ที่ ได้นกมาแล้วเลี้ยงดูอย่างดี ไม่ยอมขายหรือให้ใครไปเลย เนื่องจากเป็นการถือโชคลาง ผู้เขียนเคยคุยกับเจ้าของนกผู้มีอันจะกินหลายๆ ท่าน ถึงความเชื่อในตัวนก โดยเฉพาะนกที่มีลักษณะพิเศษกว่าตัวอื่นๆ เช่น หัวมีสีขาว.. ขนสีขาวทั้งตัวหรือขาวเพียงบางส่วน เจ้าของนกบอกว่า ตั้งแต่ ได้นกมา ปรากฎว่ากิจการต่างๆ ที่ทำอยู่ประสบผลสำเร็จอย่างดี มีกำไรมากขึ้น ก็เลยสั่งทำกรงไม้ฝังมุกอย่างดีราคาหลายหมื่นให้นกอยู่ได้ อย่างสบาย ตอนนี้ฐานะก็ดีขึ้นเรื่อยๆ เคยมีคนมาขอซื้อเท่าไรก็ไม่ยอมขาย.. ซึ่งก็เป็นความเชื่อและแนวความคิดของแต่ละท่าน เรื่องนี้ต้องให้ท่านผู้อ่านได้พิจารณาและใช้หลักการเหตุผลคิดเอาเองตามความ น่าจะเป็นก็แล้วกัน

สิ่งที่ต้องรู้ เรื่องกฏหมายเกี่ยวกับนก..

         ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า.. พ.ศ. 2535 กำหนดให้นกปรอดทั้ง 36 ชนิด ที่พบในเมืองไทย เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองประเภทนกที่ผู้ครอบครองต้องมีใบอนุญาตในการครอบครอง.. ส่วนการประกวดนกปรอดหัวโขนนั้นต้องปฏิบัติตามประกาศกรมป่าไม้ เรื่องการประกวดแข่งขันนกปรอดหัวโขน ลงวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2541 โดยอธิบดีกรมป่าไม้ที่ระบุว่า
        "ผู้ ใดจะนำสัตว์ป่าคุ้มครอง.. ชนิดนกปรอดหัวโขน.. หรือสัตว์ป่าอื่นๆ เข้าประกวดแข่งขัน จะต้องนำเอกสารการแจ้งการครอบครองตามมาตรา 66 หรือ 67 ซึ่งได้จดแจ้งต่อกรมป่าไม้แล้วภายในเดือนพฤษภาคม 2535 และต้องนำเอกสารดังกล่าวติดตัวสัตว์ป่าไปด้วยทุกครั้ง และผู้ที่นำสัตว์ป่าไปเข้าประกวดแข่งขันจะต้องเป็นผู้ที่มีชื่ออยู่ในเอกสาร ดังกล่าวข้างต้น หรือผู้เข้าประกวดนำสัตว์ป่าคุ้มครองอื่นไปแข่งขัน หรือมีการตกลงกันซื้อขายสัตว์ป่าคุ้มครองภายในสถานที่ประกวด จะมีความผิดตามมาตรา 19 และมาตรา 20 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสี่ปี หรือทั้งจำทั้งปรับไม่เกินสี่ปีหรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ"..

มา..รู้จักกับนกกรงหัวจุก กันดีกว่า...


         นกกรงหัวจุก..  มีถิ่นอาศัยอยู่ในแถบประเทศที่มีอากาศร้อนชื้น จะกระจายพันธุ์อยู่ทางตอนใต้ของทวีปเอเซีย โดยพบได้ตั้งแต่ประเทศอินเดีย บังคลาเทศ.. พม่า ไทย และอิน โดจีน และเนื่องด้วยนกชนิดนี้เป็นนกที่มีสีสวยงามและเสียงไพเราะ จึงมีผู้นำไปเลี้ยงในเคหะสถานบ้านช่อง อีกทั้งยังเป็นนกที่มีการคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า.. พ.ศ.2535 มาตรา 17 ให้เป็นสัตว์ป่าชนิดที่เพาะพันธุ์ได้
        ถิ่นอาศัย  ของนกชนิดนี้ในประเทศไทยจะพบอาศัยอยู่ตามชายป่า ทุ่งหญ้า.. พื้นที่เกษตรกรรม และตามแหล่งชุมชน ในชนบท โดยเฉพาะทางภาคเหนือและภาคอีสานตอนบน
        นก ปรอดหัวโขนเป็นนกในวงศ์นกปรอด (Pycnonotidac) ซึ่งนกในวงศ์นี้พบอาศัยอยู่ตั้งแต่ละแวกบ้านจนไปถึงบนยอดดอยสูงและตามป่าที่ ราบต่ำ.. มีอยู่ด้วยกัน 36 ชนิด แต่ทั่วโลกมีประมาณ 109 ชนิด โดยนกปรอดหัวโขนจัดอยู่ในสกุล Pycnonotus ซึ่งเป็นสกุลของนกปรอดสวเพราะนกในสกุลนี้หลายชนิดมักพบอาศัยใกล้ชุมชน หรือตามพื้นที่เกษตรกรรมนกปรอดหัวโขนมีชื่อเรียกหลายชื่อ แต่คนไม่ค่อยคุ้นหูนัก.. โดยจะมีการเรียกชื่อแตกต่างกันไปตามภาค อย่างภาคใต้เรียกว่านกกรงหัวจุก ภาคเหนือเรียกว่นกปริ๊ดเหลวหรือพิชหลิว ส่วนภาคกลางเรียกว่านกปรอทหัวจุกหรือปรอทหัวโขน

ตำนานนกกรงหัวจุก


         นกกรงหัวจุก  ที่เราๆ นำมาแข่งขันประชันเสียงกันนั้น.. มีตำนานเล่าสืบต่อกันมา และมีหนังสือบางเล่มได้เขียนเอาไว้ว่าชนชาติแรกที่นำนกปรอดหัวจุกมาเลี้ยง.. คือ ชาวจีน เมื่อประมาณ พ.ศ.2410.. คนจีนได้นำนกปรอดหัวจุกมาเลี้ยงแทนนกโรบิ้น ที่คนจีนส่วนใหญ่นิยมนำมาใส่กรงพาเดินตามถนนหรือนั่งร้านกาแฟ หรือไปหาเพื่อนๆ ที่รู้ใจและเลี้ยงนกเหมือนกัน และเจ้านกโรบิน มักจะเป็นนกที่ตกใจง่ายและตื่นคน.. บางครั้งตำใจมากจนถึงขั้นช็อคตายคากรง ดังนั้นจึงเป็นเหตุให้ชาวจีนหันมาเลี้ยงนกปรอดหัวจุกหรือนกหัวจุกกันอย่าง แพร่หลาย ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
          นกกรงหัวจุก  เป็นที่นิยมของคนภาคใต้มายาวนาน โดยได้รับอิทธิพลมาจากประเทศเพื่อนบ้านอย่างอินโดนีเซีย สิงคโปร์ มาเลเซีย โดยจะมีการนำนกกรงหัวจุกมาแข่งขันประชันเสียงเพลงซึ่งดูที่ลีลาการร้องของ.. สำนวนเสียงในนกแต่ละตัวว่าใครจะเหนือกว่ากัน แต่ในสมัยก่อนของภาคใต้ตั้งแต่จังหวัดสตูล สงขลา ยะลา ปัตตานี นราธิวาส กระบี่ นครศรีธรรมราช นิยมนำนกกรงหัวจุกมาชนกันหรือตีกันเหมือนกับการชนไก่ คือเอานกมาเทียบขนาดให้ใกล้เคียงกันแล้วจับใส่กรงกลางที่มีขนาดใหญ่แล้ว.. ปล่อยให้นกทั้งสองตัวไล่จิกตีกันภายในกรงจนกว่าจะรู้แพ้รู้ชนะ สาเหตุที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่านกปรอดหัวจุก มีนิสัยดุร้ายและชอบไล่จิกและตีกันตามธรรมชาติอยู่แล้ว

นกกรงหัวจุก



        นก กรงหัวจุก มีชื่อเรียก เป็นทางการว่า "นกปรอดหัวโขนเคราแดง" หรือ "นกพิชหลิว" มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Pycnonotus jocosus เป็นสัตว์คุ้มครองประเภทนก ที่เพาะพันธุ์ได้
นก วงศ์นี้มีถิ่นอาศัย อยู่แถบเอเชีย ..ในกลุ่มประเทศ ที่มีอุณหภูมิร้อนชื้นสูง เช่น จีน อินเดีย อินโดฯ สิงคโปร์ ลาว กัมพูชา และไทย พบเห็นได้ทุกภาคของประเทศ โดยเฉพาะนกปรอดหัวโขนเคราแดง
        นกกรงหัวจุกนั้น ทางภาคใต้นิยมเลี้ยงกันมานานแล้ว และสืบทอดมาสู่รุ่นลูกรุ่นหลาน.. จนเรียกได้ว่าเป็นวัฒนธรรมพื้นบ้านทางภาคใต้ ก็ว่าได้เหตุนี้เอง เมื่อครั้งที่ผู้เขียนเดินทางไปที่ จ.ยะลา จึงเห็นมีกรงนกหัวจุกแขวนตามบ้านเรือนประชาชนแทบทุกบ้าน บ้างก็หิ้วขึ้นจักรยานไปด้วย.. บ้างหิ้วไปกินกาแฟ แบกกันไปทั้งกรงอย่างนั้นแหละ สอบถามชาวบ้านได้ความว่า เพื่อให้นกเคยชินกับคน ไม่ตื่นกลั..