วันพุธที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2554

วิธีดูเพศของนกกรงหัวจุก อย่างง่าย


-    ถ้าเราอยากรู้.. ว่านกที่เราเลี้ยงอยู่จะเป็นตัวผู้หรือตัวเมีย ลองใช้วิธีนี้ดู
-   การนำเข็มเย็บผ้ามาร้อยด้าย.. ให้ยาวประมาณ 1 คืบ ใช้มือจับที่ปลายเส้นด้ายให้เข็มห้อยลงมา จากนั้นให้นำนกตัวที่สงสัยจับหายท้องขึ้น.. และขยับให้ตูดนกอยู่ใกล้ปลายเข็มที่ห้อยลงมา และให้สังเกตุว่า ถ้าเข็มวิ่งวนเป็นวงกลมแสดงว่านกเป็นตัวเมีย ถ้าเข็มวิ่งแกว่งไปมาแสดงว่านกเป็นตัวผู้ ลองทำดูได้ผลแน่นอน
-    เซียนๆส่วนใหญ่รุ่นเก่าๆใช้วิธีนี้ตอนไปคัดนกจากกรงรวมได้ผลใช้ได้กับนกหลายชนิด..
-    คาดว่าตัวเมียจะมี อำนาจแม่เหล็กที่ตูดเป็น ขั้วใต้ ส่วนตัวผู้ จะมีอำนาจขั้วเหนือ
-    กรณีตัวเมียเป็นขั้วใต้ เมื่อเจอปลายเข็ม จึงเกิดแรงดูด S+N ทำให้หมุนเป็นวงกลม..
-    กรณีตัวผู้เป็นขั้วเหนือ เมื่อเจอปลายเข็ม จึงเกิดแรงดัน N+N ทำให้ผลักกันแกว่งไปมา..
-   หลักการเดียวกัน ใช้เข็มทิศก็ได้ นำนกกรงฯ เข้าไปจ่อใกล้ ทางทิศเหนือหันเข้า ก็ตัวเมีย ถ้าทิศใต้หันเข้าก็ตัวผู้

สูตร.... นกถ่ายขนไม่หยุดหย่อน



    ถ้ารู้ว่านกเริ่มที่ถ่ายขนในระยะแรกๆ ให้เลี้ยงแบบปกติก่อน ไปเรื่อยๆ.. ปล่อยให้นกถ่ายขนทิ้งก่อน ทั้งขนอ่อน ขนแก่ ขนหาง ขนปีก หรือขนอะไรก็แล้วแต่ (นกแต่ละตัวจะถ่ายขนส่วนไหนก่อน ไม่เหมือนกัน).. ช่วงนี้อย่าเพิ่งให้อาหารที่มีโปรตีน และไขมันสูง สิ่งเหล่านี้จะไปกระตุ้นให้นกสร้างสิ่งที่สึกหรอ ก็คือการบำรุงนกให้สมบูรณ์ นกก็จะสร้างขนก่อนที่นกจะทิ้งขนหมด เป็นสาเหตุที่นกทิ้งขนไม่หยุดหย่อน กินเวลานานแล้วนานอีกหลายเดือน โปรดสังเกตุดูว่าจริงมั้ย
   นกก็เลี้ยงหลายตัว แต่ดูแลนกที่ถ่ายขนไม่เหทือนกันทุกตัว แต่ส่วนใหญ่จะเป็นอย่างนี้ จึงลองผิดลองถูก จนได้ผลสรุปก็คือ .... จะเลี้ยงนกกรงฯที่ถ่ายขนอยู่แบบปกติทุกวัน ให้เหมือนธรรมชาติที่สุดเรียกว่าเลียนแบบธรรมชาติ ให้ผลไม้ อาหารเสริมสัปดาห์ละ 1 ครั้งตามที่ตามเลี้ยง ให้สังเกตุนกท่านว่าเริ่มมีขนใหม่งอกขึ้นมามั้ย ถ้าเริ่งมีขนใหม่ขึ้นซ่อนมา สีอ่อนๆนั้นคือขนใหม่ ขั้นตอนนี้อาจเป็นขั้นตอนสุดท้ายก็ได้ หลังจากทิ้งขนเก่าหมดแล้ว ก็เริ่มอัดอาหารที่มีโปรตีน และไขมันสูง เช่น หนอน ไข่มดแดง ตั๊กแตน อาหารเม็ดต่างๆ ฯลฯ มากๆ นกจะเริ่มมีขนใหม่ที่ขึ้นมาใหม่เรื่อยๆ อาจจะใช้เวลานานเช่นกัน แต่จะเป็นการทิ้งขนและเต็มไวกว่าที่ท่านทำมาแน่นอน
มาฟังกันเรื่องกราดแดดช่วงถ่ายขน เมื่อเริ่มรู้แล้วว่านกถ่ายขน ก็คือควรจัดแจง แยกนกให้ได้พักผ่อนเยอะๆ ไม่ควรนำนกไปลงแข่งเด็ดขาด(ส่วนน้อยมากๆที่แข่งติดรางวัลช่วงถ่ายขน) เลี้ยงดู เอาใจใส่ ปกติ ให้กราดแดดอ่อนๆ น้อยชั่วโมง วันหนึ่ง สักเช้า 1-2 ชั่วโมง เย็นสัก 1-2 ชั่วโมง เรียกกันว่าแสงแดดสีทองซึ่งไม่แรงไม่ร้อนมากนัก และมีประโยชน์แด่นกสูงสุด การอาบน้ำก็สักสัปดาห์ละครั้ง จากที่เคยอาบทุกวันแล้วแต่นก หลังจากใกล้เต็มแล้ว ก็นำนกเคาะสนิม รื้อฟื้นความหลังหน่อย เช่นพาเที่ยว พาซ้อม.. ตามสนามแข่ง ไล่แดด ไล่ขนต่อไป นกช่วงถ่ายขนก็จะมีสุขภาพร่างกาย และขนที่งอกออกมาใหม่ สมบูรณ์ แข็งแรง เป็นเงางาม

การแข่งขันนกกรงหัวจุก แบบสากล


        การแข่งขัน  แบบสากลส่วนใหญ่ จะเน้นที่ความงดงามสมส่วนหรือมีลีลาสง่างามหรือไม่ และสำนวนเพลงร้องของแต่ละตัวดีหรือไม่อีกทั้งการแข่งขันแต่ละครั้งจะไม่ จำกัดยกแต่จะใช้จำนวนนกที่เข้าร่วมเป็นเกณฑ์ การแข่งขันจะใช้กรรมการ 3 คนต่อชุด ทำหน้าที่คัดเลือกนกออกให้เหลือเท่าจำนวนรางวัลที่จัดเอาไว้ กรรมการทั้ง 3 คนจะยึดกฎกติกาอันเดียวกัน โดยจะเดินวนรอบๆ ราวแขวนนกระยะพอประมาณ กรรมการ 1 คนจะสังเกต 6-9 ตัว รอบแรกจะคัดเอานกตัวที่ไม่ร้องหรืออยู่นิ่งๆ.. ขนพองฟูออก เพราะแสดงว่าไม่มีใจสู้ ไม่มีปฏิกิริยาอะไรกับนกตัวที่อยู่รอบๆ ข้างเลย กรรมการก็จะจดหมายเลขนกตัวนั้นเอาไว้ ถ้านกตัวใดถูกกรรมการ 2-3 คนจดหมายเลยซ้ำกันถือว่าตกรอบ นกที่เหลือจะถูกยุบเข้าไปอยู่บนราวเดียวกัน เมื่อเหลือจำนวนน้อยลงไปเรื่อยๆ จะสังเกตว่ายกที่ 1-3 นั้นนกที่ตกรอบเป็นนกที่ไม่ร้องไม่โชว์ลีลาอะไร
        ยก 4 กรรมการจะเน้นไปที่เสียงร้องเป็นพิเศษ นกที่ผ่านยก 1-3 มาได้ แต่ถ้าไม่มีเสียงร้องในยกที่ 4 แม้จะมีลีลาดีเพียงใดก็ต้องตกรอบไปเพราะก่อนเข้ารอบรองชนะเลิศกรรมการจะ พิจารณาเสียงเป็นหลัก พอคัดเลือกนกเหลือเท่ารางวัลกรรมการจะหยุดพัก 5 นาที ให้เวลาเจ้าของนกหรือพี่เลี้ยงทำนกให้สดชื่นตื่นตัวและคึกคักพร้อมเข้าแข่ง รอบชิงชนะเลิศ ในช่วงเวลา 5 นาทีนี้.. สิ่งที่เจ้าของนกส่วนมากจะทำกันคือป้อนอาหารจำพวกเรียกพลังเช่นตักแตนหนอน ให้นกอิ่มมีพลังร้องอย่างเต็มที่ในยกต่อไป และนำอาหารนกที่เหลือในกรงออกเพื่อให้สนใจร้องอย่างเดียวไม่มัวกินอาหาร พร้อมทั้งเปลี่ยนน้ำให้นกใหม่เพราะน้ำใช้มาตั้งแต่เช้าสกปรกและร้อนเกินไป หรืออาจจะมีวิธีอื่นอีกก็แล้วแต่เจ้าของ
        รอบชิงชนะเลิศกรรม การแต่ละคนจะใช้วิธีเดินรอบสนามหรือราวนกเพื่อให้คะแนนหลายๆ รอบจนครบหมดทุกตัว ในการตัดสินรอบแรกจะดูนกที่ร้องก่อนตัวอื่นๆ โดยเดินวนตามหลังกันเว้นระยะห่างพอประมาณไปในทิศทางเดียวกัน ใช้ระยะเวลาในการเดินให้คะแนนคนละเท่าๆ กันคือ 1 นาทีต่อ 1 ล๊อก ดูนกประมาณ 3 ตัว เมื่อพบนกตัวใดร้องก็จะจัดการให้คะแนนตามแบบฟอร์มโดยจะดูลักษณะการ ร้อง(เสียงร้อง) และลีลาการ ร้องประกอบกัน ส่วนนกที่ไม่ร้องในการเดินรอบแรก กรรมการก็จะยังไม่ให้คะแนน แต่ในรอบที่ 2 กรรมการจะต้องให้คะแนนนกให้ครบทุกตัวแม้ว่าจะไม่ร้องก็ตาม เมื่อกรรมการแต่ละท่านตัดสินนกจนครบทุกตัวก็ถือว่าเป็นการสิ้นสุดการให้ คะแนน และสรุปผลการตัดสินต่อไป

ประโยชน์ในการเลี้ยง นกกรงหัวจุก


1. จะเป็นการให้พวกวัยรุ่นลดละเลิก.. ในเรื่องติดยาเสพติด เพราะจะมาสนใจเลี้ยงนกกรงหัวจุก
2. เป็นการพักผ่อน คลายเครียด เพลิดเพลินใจ เหมือนกับฟังเสียงร้องของนกเป็นเสียงดนตรีธรรมชาติ หรืออยู่ในธรรมชาติ
3. เป็นการสร้างความภูมิใจให้แก่ผู้เลี้ยงที่ได้รับรางวัล
4. เป็นการสร้างความสามัคคีในหมู่คณะที่ชอบเลี้ยงนกกรงหัวจุก มีการพบปะพูดคุย แลกเปลี่ยนคามคิดเห็นกัน
5. เป็นการสร้างรายได้ ..และการกระจายรายได้ไปให้แก่คนหลายอาชีพ
6. เป็นประเพณี.. และวัฒนธรรมที่ดีของท้องถิ่น
7. หากมีการเพาะพันธุ์จำหน่ายก็จะกลายเป็นสินค้า 1 ตำบล 1 ผลิตภัณฑ์ได้

มารยาทของผู้ส่งนกกรงหัวจุก เข้าแข่งขัน

1. ควรส่งนกกรงหัวจุกก่อนจะมีการแข่งขันอย่างน้อย..ครึ่งชั่วโมง
2. ควรอยู่นอกเขตเชือกกั้น ไม่ควรเข้าไปในเขตเชือกกั้น เพราะจะทำให้นกตื่นตกใจและไม่ร้อง
3. การเชียร์นกให้ร้อง อย่าใช้วัสดุ เช่น เสื้อ ผ้าคลุมกรงโบกสะบัด เพื่อเชียร์ให้นกร้อง.. เพราะนกตัวอื่นๆ อาจจะตกใจและไม่ร้อง รวมทั้งการส่งเสียงร้องเชียร์นกดังเกินไป นกอื่นอาจจะตกใจและไม่ร้องได้เช่นกัน สำหรับการประกวดแข่งขันประชันเสียงนกกรงหัวจุก จะเริ่มตั้งแต่เดือน กุมภาพันธ์-เดือนตุลาคมของทุกปี เพราะช่วงเดือน พ.ย.-ธ.ค.-ม.ค. ทางภาคใต้จะเป็นช่วงฝนตก นกกรงหัวจุกจะไม่ค่อยร้องแต่ถ้ามีแดดนกกรงหัวจุกจะร้องดี